Menu
แอพพลิเคชั่น สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
Notebook Freedom

แอพพลิเคชั่น สำนวน สุภาษิต คำพังเพย



สำนวน สุภาษิต คำพังเพย

( Proverbs Thailand )

1. หัวข้อโปรเจ็ค
    ชื่อหัวข้อ สำนวน สุภาษิต คำพังเพย (ภาษาไทย)
    ชื่อหัวข้อ Proverbs Thailand (ภาษาอังกฤษ)

2. ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น ชื่อ นาย วัชรพล จันทะแสง

3. คำสำคัญ (keyword) สำนวน สุภาษิต คำพังเพย

4. ที่มาและความสำคัญ
       ในปัจจุบันเป็นยุคที่โลกได้มีการพัฒนาด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการพัฒนาด้านชุดคำสั่งหรือที่เรียกว่า “แอพพลิเคชั่น” ซึ่งประเทศไทยก็พัฒนาไปอย่างล่ำหน้าโดยส่วนใหญ่จะใช้ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ (Android) ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิดเผยซอร์ฟแวร์ต้นฉบับ (Open Source) โดยบริษัท กูเกิ้ล (Google Inc.) ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง เมื่อแอพพลิเคชั่นพัฒนาไปมากเกิดเป็นแอพพลิเคชั่น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์เกิดขึ้น เช่น แอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษา เพื่อความบันเทิง ฯลฯแอพพลิเคชั่น สำนวน สุภาษิต คำพังเพย นี้ในประเทศไทย มีผู้คิดค้นแอพพลิเคชั่นต้นแบบมาหลายแบบ แต่แอพพลิเคชั่น เหล่านั้นยังมีประสิทธิภาพการทำงานต่ำ ไม่ว่าจะเป็นการจัดกลุ่ม สำนวน สุภาษิต คำพังเพย ตามลำดับพยัญชนะ เพื่อง่ายต่อการศึกษา ผู้พัฒนา พิจารณาดูแล้วว่าประสิทธิภาพแอพพลิเคชั่น ยังต้องมีการปรับปรุงแก้ไขในส่วนนี้ ดังนั้น ผู้พัฒนาจึงได้คิดที่จัดทำแอพพลิเคชั่นขึ้นใหม่เพื่อให้ค้าหาง่ายและจัดหมวดหมู่ไว้เพื่อให้ผู้ที่สนใจศึกษา สำนวน สุภาษิต คำพังเพย อย่างเป็นหมวดหมู่

5. วัตถุประสงค์
      1. เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชั่น สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
      2. เพื่อศึกษาชุดคำสั่งควบคุมการทำงานของแอพพลิเคชั่น
      3. เพื่อศึกษากระบวนการทำงานระหว่างอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์
      4. เพื่อฝึกการเขียนแอพพลิเคชั่น และพัฒนาแอพพลิเคชั่นต่างๆ
      5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการศึกษา บุคคลทั่วไป

6. ขอบเขตของ software
      1. ใช้งานได้ต้องมีเครื่อง สมาร์ทโฟน ( Smart Phone )
      2. ใช้ได้กับระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ (Android) เท่านั้น
      3. ใช้งานในระบบจอสัมผัส ( Touch )

7. ทฤษฎี สมมติฐาน (ถ้ามี) และกรอบแนวความคิดของ
       ผู้พัฒนามีแนวความความคิดที่ว่า ทำอย่างไรให้แอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาที่ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น สำนวน สุภาษิต คำพังเพย พัฒนาขึ้นจะมีรูปแบบที่ใช้งานง่าย ไม่สลับซับซ้อน แบบตามลำดับพยัญชนะ แบ่งออกเป็นหมวด ย่อยๆ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการศึกษาไม่สับสน ค้นหาง่าย โดยใช้แนวคิดของ Google ผู้ที่ไม่เคยใช้มาก่อนใช้เป็นในทันที เมื่อเปิดแอพพลิเคชั่น

8. การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ (information)ที่เกี่ยวข้อง
       ผู้พัฒนาได้ตั้งใจศึกษาบทความต่างๆจากเว็บไซต์ และศึกษาคู่มือของผู้ให้บริการพัฒนา MIT App Inventor สื่อวิดีโอจากผู้มีประสบการณ์ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่น ที่สละเวลามาสอนเพื่อเป็นแนวทางในผู้ที่สนใจพัฒนาแอพพลิเคชั่นได้ ศึกษาและปฏิบัติเป็นแล้วทาง ต่อยอด เป็นการพัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นของผู้พัฒนา

9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
      1. ได้แอพพลิเคชั่น สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
      2. ได้ความรู้ และความเข้าใจหลักการพัฒนาแอพพลิเคชั่น
      3. ได้แอพพลิเคชั่น ด้านการศึกษา เพื่อให้ความรู้ สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
      4. เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานราชการ และ บุคคลทั่วไป
      5. สนองนโยบายรัฐบาลที่ให้มีการศึกษาวิจัยด้านแอพพลิเคชั่น


10.วิธีดำเนินการศึกษา



11. เครื่องมือที่ใช้พัฒนา
       ใช้ MIT App Inventor 2 Beta ในการพัฒนาซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับสร้างแอพพลิเคชั่นสำหรับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่เป็นระบบปฏิบัติการ Android ซึ่งบริษัท Google ร่วมมือกับ MIT พัฒนาโปรแกรม App inventor ขึ้น ต่อมา Google ถอนตัวออกมาและยกให้ MIT พัฒนาต่อเอง (โดยเน้นกลุ่มผู้ใช้ด้านการศึกษามากกว่า) ในนาม MIT App inventor

12. ขั้นตอนการพัฒนา


      1. เริ่มต้น คลิก icon App
      2. คลิก เข้าสู่หมวดหมวดที่ต้องการ เช่น หมวด ก ข ค ฆ ง
      3. เข้าสู่หมวด ก
      4. คลิกเลือกหมวดก่อนหน้านี้ เช่น หมวด ง
      5. คลิกเลือกหมวดต่อไป เช่น หมวด ข
      6. คลิกหน้าแรก เพื่อเลือกหมวดพยัญชนะหมวดต่อไป 
          เช่น หมวด จ ช ซ , หมวด ด ต ถ ท

13. ผลการทดลอง


14. สรุปผลและข้อเสนอแนะ
       จากผลการพัฒนาแอพพลิเคชั่นผู้พัฒนาพึ่งพอใจการทำงานของแอพพลิเคชั่นในระดับหนึ่ง โดยแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นมีเนื้อหาที่ครบทวน  จัดหมวดหมู่เรียบเรียงตามพยัญชนะ ทำให้ผู้ใช้สามารถหา สำนวน สุภาษิต คำพังเพย ได้รวดเร็วมากขึ้น และต้องพัฒนาปรับปรุงต่อไป เพื่อรองรับผู้ใช้ทุกเพศทุกวัย ทำให้เข้าใจง่ายที่สุด

15. ปัญหาและอุปสรรค์
       1. รูปภาพที่ทำการอัพโหลดในแอพพลิเคชั่นใหญ่เกินไปทำให้ โหลดแสดงผลช้า
       2. ปัญหาการจัดย่อหน้าข้อความ จัดรูปแบบข้อความให้สวยงามเป็นระเบียบ
       3. ผู้พัฒนายังขาดทักษะ การพัฒนาแอพพลิเคชั่น ให้เป็นไปตามกรอบแนวคิดที่วางไว้

16. แนวทางการพัฒนาต่อ
      1. เพิ่มเสียงพูดของ สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
      2. ปรับปรุงหน้าตาของแอพพลิเคชั่นให้สวยงาม
      3. ปรับปรุงฟังชั่น การนำเสนอ สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
      4. เพิ่มรูปภาพ ที่สื่อความหมายกับ สำนวน สุภาษิต คำพังเพย

17. อ้างอิง
      http://appinventor.mit.edu/


Continue reading →